ยินดีต้อนรับสู่ วัดถ้ำปุ่ม

วันเสาร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2554

สวดมนต์บำบัดโรค

เชื่อหรือไม่ ว่าหากเราสวดมนต์(ไม่ว่าศาสนาใดก็ตาม) เพื่อให้ใครสักคนหายป่วย แม้จะอยู่ห่างกันคนละซีกโลก แต่พลังแห่งบทสวดนั้นจะเดินทางไปเยียวยาความเจ็บป่วยของเขาได้ เพราะการสวดมนต์บำบัดทำให้เกิดทั้งคลื่นเสียงที่สามารถเดินทางลึกเข้าไปในสมอง และคลื่นไฟฟ้าที่ส่งกระจายไปในชั้นบรรยากาศไกลๆได้

การสวดมนต์บำบัด คือ หลักการหนึ่งของ Vibrational Therapy หรือ Vibrational Medicine คือ การใช้คุณสมบัติของคลื่นบางคลื่นมาบำบัดความเจ็บป่วย ซึ่งมีหลากหลายวิธี อาทิ เก้าอี้ไฟฟ้า เครื่องนวดต่างๆ ก็เป็นVibrational Therapy เช่นกัน แต่เป็นคลื่นไฟฟ้าเชิงฟิสิกส์ ที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต ต่างจาก สวดมนต์บำบัดซึ่งเป็นคลื่นที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
ดังนั้นมาดูพลังแห่งการสวดมนต์บำบัดกัน ว่าคืออะไรและมีประโยชน์อย่างไร


คลื่นแห่งการเยียวยา

การสวดมนต์ใช้หลักการทำให้เกิดคลื่นเสียงที่มีความสม่ำเสมอ เพื่อเข้าไปกระตุ้นร่างกายให้เกิดการเยียวยา ซึ่งหากคลื่นเสียงที่มากระทบดังแบบไร้ระเบียบ คือประกอบด้วยเสียงที่มีความถี่ต่างๆกัน ก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อการบำบัดกลไกดังกล่าวเริ่มต้นเมื่อหูของเราได้ยินเสียง บทสวด ก็จะส่งสัญญาณต่อไปยังศูนย์การได้ยินที่อยู่บริเวณสมองกลีบขมับ ก่อนส่งไปบริเวณก้านสมอง ซึ่งเมื่อได้รับคลื่นเสียงช้าๆ สม่ำเสมอประมาณ 15 นาที ก็จะหลั่งสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์มากมาย

เสียงสวดมนต์ด้วยสมาธิ เป็นยา :ให้ผลกับร่างกายเอนกอนันต์

รองศาสตราจารย์ ดร.สมพร กันทรดุษฎี เตรียมชัยศรี หัวหน้าภาควิชาการพยาบาลสาธารสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายเพิ่มเติมดังนี้

“สมองของเราเมื่อได้รับการกระตุ้นด้วยคลื่นเสียงช้าๆ สม่ำเสมอประมาณ 15 นาทีขึ้นไป จะทำให้เซลล์ประสาทของระบบประสาทสมองสังเคราะห์สารสื่อประสาทหลายๆชนิด

บริเวณก้านสมองจะหลั่งสารสื่อประสาทชื่อ ซีโรโทนิน (serotonin) เพิ่มขึ้น ซึ่ง มีฤทธิ์คล้ายยานอนหลับ ช่วยการเรียนรู้ ลดความเครียด ลดอาการซึมเศร้า ลดระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทอื่นๆ เช่น เมลาโทนิน ซึ่งเปรียบคล้ายกับยาอายุวัฒนะ เพราะจะช่วยยึดอายุการทำงานของเซลล์ประสาท เซลล์ร่างกาย ให้ชีวิตยืนยาวขึ้น และยังมีคุณสมบัติช่วยให้นอนหลับ เพิ่มภูมิต้านทาน ทำให้เซลล์สดชื่นขึ้น รวมถึง โดปามีน มีฤทธิ์ลดความก้าวร้าวและอาการพาร์กินสัน
นอกจากนี้ปริมาณของซีโรโทนินมีความสัมพันธ์ต่อการกระตุ้นการหลั่งสารสื่อประสาทอื่นๆ เช่น อะเซทิลโคลีน ช่วยในกระบวนการเรียนรู้และความจำ ช่วยขยายเส้นเลือด ทำให้ความดันลดลง และยังช่วยลดปริมาณ อาร์กินิน วาโซเปรสซิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมความก้าวร้าว ความสมดุลของน้ำ และซีโรโทนินยังเข้าไปลดปริมาณของสารเคมีชนิดหนึ่งที่เป็นตัวกระตุ้นของการทำงานของต่อมหมวกไตให้ลดลง ส่งผลให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานน้อยลง ร่างกายจึงรู้สึกผ่อนคลาย ปลอดโปร่ง และไม่เครียด ภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น

ดังนั้น จุดสำคัญจึงอยู่ที่ร่างกายจะสามารถสร้างสารสื่อประสาทได้หรือไม่ อาจารย์สมพรเสริมว่า

“หลักการสำคัญอยู่ที่หากมีสิ่งเร้า หลายๆประเภทเข้ามารบกวนกระบวนการทำงานของคลื่นสมองพร้อม ๆ กัน ทำให้สัญญาณคลื่นสมองเปลี่ยนไป การหลั่งสารสื่อประสาทจะสับสน ไม่มีผลในการเยียวยา สิ่งเร้านี้มาจากหลายส่วน ทั้งตัวเอง เช่น บางคนปากสวดมนต์ แต่คิดฟุ้งซ่านไปเรื่องอื่น ก็ไม่ได้ประโยชน์ และการเกิดเสียงดังอื่นๆ เข้ามารบกวนขณะสวดมนต์ เพราะประสาทสัมผัสของมนุษย์รับรู้ได้ไวและอ่อนไหวมาก เรามีตัวประสาทรับสัญญาณมากมาย เรารับสิ่งเร้าได้ทั้งจากทางปาก ตา หู จมูก การเคลื่อนไหว และใจ เหล่านี้ทำให้สัญญาณคลื่นสมองสับสนและเปลี่ยนไป ร่างกายก็จะสร้างซีโรโทนินได้ไม่มากพอ”

และไม่ใช่เฉพาะสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์เท่านั้นที่เราจะได้จากการสวดมนต์ แต่การสวดมนต์ยังทำให้อวัยวะต่างๆได้รับการกระตุ้น คล้ายกับการนวดตัวเองจากการเปล่งเสียงสวดมนต์

สวดมนต์กระตุ้นอวัยวะ

อาจารย์เสถียรพงษ์ วรรณปก ราชบัณฑิต อธิบายหลักการนี้ว่า
“เวลาเราสวดมนต์นานๆ คำแต่ละคำจะสร้างความสั่นสะเทือนไม่เท่ากันตามฐานที่เกิดของเสียงหรือตาม วิธีเปล่งเสียง แม้ว่าเสียงจะออกมาจากปากเหมือนกัน แต่ว่าเสียงบางเสียงออกมาจากริมฝีปาก บางเสียงออกมาจากปุ่มเหงือก บางเสียงออกมาจากไรฟัน บางเสียงออกมาจากคอ ดังนั้น ถ้าเราสวดมนต์ถูกต้องตามฐานกรณ์จึงเกิดพลังของการสั่น” และเมื่อเกิดพลังของการสั่น

การสั่นนี้จะเข้าไปเยียวยาอาการป่วยได้อย่างไร? อาจารย์เสถียรพงษ์อธิบายต่อว่า

“เวลา เราสวดมนต์ เสียงสวดจะไปช่วยกระตุ้นต่อมต่างๆ ซึ่งจะช่วยปราบเชื้อโรคบางชนิด เช่นการวิจัยของฝรั่ง พบว่า อักษร เอ บี ซี ดี จะช่วยกระตุ้นระบบน้ำย่อย ส่วนบทสวดมนต์ในพระพุทธศาสนา เสียงอักขระแต่ละตัวมีคำหนักเบาไม่เท่ากัน บางตัวสั่นสะเทือนมาก บางตัวสั่นสะเทือนน้อย ทำให้ต่อมต่างๆในร่างกายถูกกระตุ้น เมื่อต่อมที่ฝ่อถูกกระตุ้นบ่อยๆเข้า ก็คงคืนสภาพ อาการป่วยก็จะดีขึ้น”


นอกจากนี้ยังมีบทความที่อธิบายเกี่ยวกับการฝึกเปล่งเสียงเพื่อรักษาโรคจากเสียงต่างๆ เช่น

โอม กระตุ้น หน้าผาก, ฮัม กระตุ้น คอ, ยัม กระตุ้น หัวใจ, ราม กระตุ้น ลิ่นปี่, วัม กระตุ้น สะดือ, ลัม กระตุ้น ก้นกบ เป็นต้น

แต่ที่สำคัญมากไปกว่านั้น การสวดมนต์ให้ประโยชน์ทางใจที่มีคุณค่ากับผู้สวด

รองศาสตราจารย์จุฑาทิพย์ อุมะวิชนี ภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ สรุปว่ามี 2 ข้อคือ

1.การสวดมนต์เป็นเครื่องช่วยให้เกิดสมาธิ โดยต้องสวดเสียงดัง ให้หูได้ยินเสียงตัวเอง และจิตใจต้องจดจ่ออยู่กับเสียงสวด เมื่อใจไม่ฟุ้งไปที่อื่น ใจอยู่กับเสียงเดียว จึงเกิดสมาธิ

2.ถ้าเข้าใจความหมายของบทสวดนั้นๆ จะทำให้เรามีความเลื่อมใสศรัทธา เพราะบทสวดของทุกศาสนาเป็นเรื่องของความดีงาม จิตใจก็จะสะอาดขึ้น บริสุทธิ์ขึ้น เป็นการยกระดับจิตใจของผู้สวด

เมื่อร่างกายที่รับสารสื่อประสาทที่มีประโยชน์และการกระตุ้นระบบอวัยวะต่างๆ ให้ทำงานเป็นปกติ เท่ากับว่าเราได้ผ่อนคลายทั้งร่างกายและจิตใจ ย่อมทำให้ภูมิชีวิตดีขึ้นเป็นลำดับ ความป่วยก็จะดีขึ้นเป็นลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยในต่างประเทศที่อาจารย์สมพร สรุปให้ฟังว่า


การสวดมนต์ช่วยบำบัดอาการป่วยและโรคร้าย ดังต่อไปนี้>

1. หัวใจ 2. ความดันโลหิตสูง 3. เบาหวาน 4. มะเร็ง 5. อัลไซเมอร์ 6. ซึมเศร้า 7. ไมเกรน 8. ออทิสติก 9. ย้ำคิดย้ำทำ 10. โรคอ้วน 11. นอนไม่หลับ 12.พาร์กินสัน



สวดมนต์อย่างไร? ให้หายจากโรค

สวดมนต์บำบัดมีวิธีการและจุดประสงค์ที่หลากหลาย สรุปออกมาได้ 3 แบบ


1.การสวดมนต์ด้วยตัวเอง

เป็นการเหนี่ยวนำตัวเอง จึงเป็นที่มาของคำว่า Prayer Therapy ถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุด เพราะหากใครสักคนคิดที่จะสวดมนต์ นั่นหมายความว่าเขากำลังมีความปรารถนาดีต่อตนเอง วิธีการที่อาจารย์สมพรแนะนำคือ

-ควรสวดด้วยตัวเอง และไม่ควรสวดมนต์หลังกินอาหารทันที ควรทิ้งช่วงให้ร่างกายเริ่มผ่อนคลาย อาจเป็นเวลาก่อนเข้านอน

- หาสถานที่ที่สงบเงียบ

-สวดบทสั้น ๆ 3-4 พยางค์ โดยใช้เวลาประมาณ 10-15 นาทีขึ้นไป จะทำให้ร่างกายได้หลั่งสารซีโรโทนิน แต่หากสวดมนต์ด้วยบทยาวๆ จะได้ความผ่อนคลายและความศรัทธา

-ขณะสวดมนต์ให้หลับตา สวดให้เกิดเสียงดังเพื่อให้ตัวเองได้ยิน


2.การฟังผู้อื่นสวดมนต์

เป็นการเหนี่ยวนำโดยคลื่นเสียงจากผู้อื่น เช่น การฟังเสียงพระสวดมนต์ เสียงผู้นำสวดในศาสนาต่างๆ หากผู้สวดมีสมาธิ เสียงสวดนั้นจะนุ่ม ทุ้ม ทำให้เกิดคลื่นที่ช่วยเยียวยา(healing)ผู้ฟัง แต่หากผู้สวดไม่มีสมาธิ ไม่มีความเมตตา เสียงสวดที่เกิดขึ้นอาจเป็นคลื่นขึ้นๆลงๆ นอกจากจะไม่ช่วยเยียวยาอาการป่วย อาจทำให้เสียสุขภาพได้


3.การสวดมนต์ให้ผู้อื่น

ปรากฏการณ์มากมายที่เราเห็นในสังคม เมื่อใครสักคนเจ็บป่วย เรามักสวดมนต์อธิษฐานขอให้ความเจ็บป่วยของเขาหายไป บางครั้งอยู่ห่างกันคนละซีกโลก เสียงสวดมนต์เหล่านี้จะมีผลทำให้สุขภาพเขาดีขึ้นจริงหรือไม่ อาจารย์สมพรอธิบายดังนี้

คลื่นสวดมนต์ เป็นคลื่นบวก เพราะเกิดจากจิตใจที่ดีงาม ปรารถนาดีต่อผู้ป่วย และเมื่อเราคิดจะส่งสัญญาณนี้ออกไปสู่ที่ไกลๆ มันจะเดินทางไปในรูปของคลื่นไฟฟ้า ซึ่งมนุษย์มีเซลล์สมองที่สามารถส่งสัญญาณคลื่นไฟฟ้าและสารเคมีได้ถึง สิบยกกำลังสิบ คลื่นนี้จึงเดินทางไปได้ไกลๆ

บางทีพ่อกำลังป่วยหนักอยู่ที่นี่ แต่ลูกอยู่ต่างประเทศ ก็สามารถรับคลื่นนี้ได้และรู้ว่ามีใครกำลังไม่สบาย ที่เราเรียกว่า ลางสังหรณ์หรือสัมผัสที่หก

“การ รับรู้ได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้รับผู้ส่งด้วย ถ้าคนไหนรับสัญญาณคลื่นแห่งบทสวดมนต์ได้จึงได้ผล เหมือนเราเปิดวิทยุ ถ้าคนฟังปิดหูก็จะไม่ได้ยิน ดังนั้นถ้าต่างฝ่ายต่างเปิดรับคลื่นบวกที่เราส่งไปผู้ป่วยก็จะได้รับ และทำให้อาการป่วยดีขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องของความมหัศจรรย์ แต่เป็นหลักธรรมชาติทั่วไป"



เลือกสวดมนต์อย่างไร? ถึงจะดี

แล้วบทสวดที่เลือกควรใช้บทไหนดี อาจารย์สมพรแนะนำว่า

“น่าแปลกที่บทสวดในศาสนาส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีจังหวะขึ้นๆ ลงๆ เหมือนจังหวะเพลง จะมีโทนเสียงแค่ไม้เอกไม้โทเท่านั้น สักสามสี่พยางค์ มาสวดซ้ำไปมาได้ทั้งนั้น พระพุทธศาสนา มีบทสวดมากมายหลายบท ให้เลือกใช้ตามความชอบ ยกตัวอย่างเช่น อิติปิโส หรือนะโมตัสสะ นะโมพุทธายะ หรือสัพเพสัตตา ฯลฯ เลือกท่อนใดท่อนหนึ่งแล้วสวดวนไปวนมา หรือโพชฌงค์ 7 ที่หลายคนนิยมสวดให้ตัวเองหรือคนไข้หายป่วย

“ข้อ ที่น่าสังเกตคือ บทสวดโพชฌงค์ 7 จะมีความแตกต่างจากบทสวดอื่นๆคือ คลื่นเสียงของบทสวดจะมีแค่เสียงสระ มีแค่สองจังหวะ คลื่นเสียงจากบทสวดจึงทำให้เกิดคลื่นที่เยียวยาได้ดีที่สุด”

อยากให้ตัวเองและผู้อื่นมีสุขภาพกายใจเป็นสุขและยังน้อมนำกุศลจิต

เริ่มจากการสวดมนต์เป็นประจำด้วยสมาธิ


จาก นิตยสารชีวจิต ฉบับแรกของเดือนมกราคม 2551
เรื่องVibrational Therapy : สวดมนต์บำบัด โดย: ชมนาด

วันจันทร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2554

บรรยากาศร่มรืนในวัดถ้ำปุ่ม


ทางเข้าร่มรืนมาก

กลุ้ม!!!

ต้นไม้ใหญ่สองข้างทาง

ป้ายชื่อวัด

มองจากทางเข้า

ทางขึ้นบันไดนาค

ระบบกรองน้ำจากธรรมชาติ

สีเขียวสบายตา

หมาน้อยน่ารัก

วันอาทิตย์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

วัดถ้ำปุ่มวันนี้






พระพุทธรุ่งเรื่องเฟื่องฟู


วันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2554

อานิสงส์การสวดมนต์

การสวดมนต์นั้นมีอานิสงส์ดังนี้

๑. สามารถไล่ความขี้เกียจ เพราะขณะสวดมนต์ อารมณ์เบื่อ เซื่องซึม ง่วงนอน เกียจคร้านจะหมดไป และเกิดความแช่มชื่นกระฉับกระเฉงขึ้น

๒. เป็นการตัดความเห็นแก่ตัว เพราะในขณะนั้นอารมณ์จะไปหน่วงอยู่ที่การสวดมนต์อย่างตั้งใจ ไม่ได้คิดถึงตัวเอง ความโลภ โกรธ หลง จึงมิได้เกิดขึ้นในจิตตน

๓. เป็นการกระทำที่ได้ปัญญา ถ้าการสวดมนต์โดยรู้คำแปล รู้ความหมาย ก็ย่อมทำให้ผู้สวดได้ปัญญาความรู้ แทนที่จะสวดเหมือนนกแก้วนกขุนทองโดยไม่รู้อะไรเลย

๔. มีจิตเป็นสมาธิ เพราะขณะนั้นผู้สวดต้องสำรวมใจแน่วแน่ มิฉะนั้นจะสวดผิดท่อนผิดทำนอง เมื่อจิตเป็นสมาธิ ความสงบเยือกเย็นในจิตจะเกิดขึ้น

๕. เปรียบเสมือนการได้เฝ้าพระพุทธเจ้า เพราะขณะนั้นผู้สวดมี กาย วาจา ปกติ (มีศีล) มีใจแน่วแน่ (มีสมาธิ) มีความรู้ระลึกถึงคุณความดีของพระพุทธเจ้า (มีปัญญา) เท่ากับได้เฝ้าพระองค์ด้วยการปฏิบัติบูชา ครบไตรสิกขาอย่างแท้จริง

และในวิมุตติสูตรได้กล่าวว่า การสาธยายมนต์คือเหตุหนึ่งในวิมุตติ ๕ ประการ (เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ คือ การฟังธรรม การเทศน์ การสวดมนตร์สาธยาย และการคิดอย่างแยบคาย ) ดังมีว่า

...ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่า ที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติกายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น

ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๓ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มี
ใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ


เรื่องการสวดมนต์ มีบางแห่งกล่าวถึงเหตุผลของการสวดมนต์ไว้ว่า

๑. เป็นการรักษาธรรมเนียม ประเพณีที่ดีให้คงอยู่
๒. เป็นการแสดงความเคารพบูชาพระรัตนตรัย
๓. เป็นการเชื่อมสามัคคีในหมู่คณะ ครบไตรทวาร
๔. เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยั่งยืน
๕. เพื่อฝึกกายใจให้เข็มแข็งอดทน
๖. เพื่อดำรงรักษาเอกลักษณ์ของชาติไทยไว้
๗. เพื่ออบรมจิตใจให้สะอาด สงบ สว่าง
๘. เพื่อฝึกจิตให้เกิดสมาธิ ไม่ฟุ่งซ่าน
๙. เพื่อเป็นการทบทวนพระพุทธพจน์

และกล่าวถึงประโยชน์ของการไหว้พระสวดมนต์ไว้ว่า...

๑. เป็นการเสริมสร้างสติปัญญา
๒. เป็นการอบรมจิตใจให้ประณีตและมีคุณธรรม
๓. เป็นสิริมงคล แก่ชีวิตตน และ บริวาร
๔. เป็นการฝึกจิตใจให้มีคุณค่าและมีอำนาจ
๕. ทำให้มีความเห็นถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา
๖. เป็นการรักษาศรัทธาปสาทะของสาธุชนไว้
๗. เท่ากับได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแม้ปรินิพพานแล้ว
๘. เป็นเนตติของอนุชนต่อไป
๙. เป็นบุญกิริยา เป็นวาสนาบารมี เป็นสุขทางใจ

ที่มา http://www.dhammajak.net/phitee/11.html

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

ปี๋ใหม่เมือง



ปี๋ใหม่เมือง

ตั้งแต่วันที่ 11-12 เมษายน ขึ้นไปคนเมืองเหนือของเราบ่ว่าจะอยู่แห่งหนตำบลใด ก็จะพากัน (ปิ๊กบ้าน) กลับบ้านกันเพื่อไปเล่นน้ำปํใหม่ที่บ้านเกิดเมืองนอนของแต่ละคนตามประเพณี บ้านเราเมืองเหนือ

ถึงวันที่ 13 เมษายนของทุกปี ถือเป็นวันสงกรานต์ปีใหม่ของลานนา คือวันนี้สังขารล่อง

ถึงวันที่ 14 เมษายนย เป็นวันเนาว์ ทางล้านนาเรียกว่าวันเน่า

ถึงวันที่ 15 เป็นวันพระยาวัน วันดีสุดยอดของวันดี บ้านเราเรียกว่าวันพระยาวัน

ความยาวของวันสงกรานต์ (ปี๋ใหม่เมืองเรา) หมายถึง พระสุริยะอาทิตย์เคลื่อนจากราศีมีนสู่ราศีเมษ ระหว่างปีต่อปี เรียกว่าหัวเลี้ยวหัวต่อของปีใหม่และปีเก่ามาพบกัน มักจะมีฟ้าฝนและลมแรง บ้านเราเรียกว่า หมดหนาวเข้าร้อนเดือน 6 เป็ง บ้านเมืองเหนือฮ้องว่าฮ้อนเขาหนาวออก ในเดือนเมษายนนั้น ตกอยู่กลางฤดูร้อน ความร้อนจัดแผดเผาทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่ใต้ดวงอาทิตย์ อากาศร้อนจัดแม้แต่แม่น้ำก็จะแห้งอาหารของกินทิ้งไว้ข้ามคืนก็จะมีการบูด เน่าเหม็น กินไม่ได้จะทำให้ท้องร่วง ประชาชนจะต้องระวังให้มากประชาชนมักเจ็บหัวปวดท้องเพราะความแห้งแล้ง น้ำแห้งขอด มักมีไฟไหม้ป่าลุกลามไปตามภูเขา ป่าไม้ ไฟป่าก็คือไฟของคนเรา จุดเผานั้นแหละหาว่าไฟป่า

ฉะนั้น คนโบราณมรการสงเคราะห์ใหญ่ในวันที่ 16 เมษายน คือวันปากปี ชาวบ้านจะช่วยกันทำสะตวงใหญ่หรือสานแตะ กว้าง 1 เมตร ยาว 1 เมตร เอากาบกล้วยมาทำเป็นสี่เหลี่ยมวางบนไม้แตะที่สานนั้นแล้วชาวบ้านจะช่วยกัน จัดดาเครื่องบูชาสังเวยใส่ในสะตวง มีรูปสัตว์ต่าง ๆ เช่น เป็ด ไก่ หมู หมา ช้าง ม้า วัว ควาย และเครื่องปรุงแต่งมี แก๋งส้มแก๋งหวาน พริกเกลือ ข้าวสุก ข้าวสาร จิ้นปลา ผลไม้ต่าง ๆ เช่น มะพร้าว ตาล กล้วย อ้อย หมาก เหมี่ยง บุหรี่ เทียน ธูป ช่อธงสลับกันปักตามขอบสะตวงให้ครบทั้ง 4 ตลอดเทวบุตรเทวดาอารักษ์ มาช่วยปกปักรักษาให้ชาวบ้านหมู่บ้านทุกหลังคาเรือนให้พ้นจากโรคพระยาธิภัย พิบัติอุปัทวะอันตราย ขอให้ตกไปด้วยปีเดือนวันและยามดังนี้

เรียกว่าสงเคราะห์วันปี ใหม่ (สงกรานต์) ในวันที่ 16 เมษายน อาจารย์โอกาสเสร็จแล้วอารธนาพระสงฆ์สวดมนต์ และสวดเปิดถวายไทยทาน พระสงฆ์ให้พรนำสะตวงไปส่งเติมตามทิศและการยิงสินาท (คือยิงปืน) ไปตามทิศนั้น ๆ เป็นจบพิธี

วันที่ 14 เมษายน เรียกว่าวันเนาว์แต่เมืองเหนือลานนาเรียกว่าวันเน่า คือวันว่างงานเพราะเราทำมาปีหนึ่งแล้วถึงวันนี้หยุดพัก วันนี้โบราณห้ามด่าห้ามตีกัน จะช่วยกันห่อข้ามต้มขนมกันที่บ้าน พอได้เวลา 4 โมงเย็นก็จะแต่งตัวกันสวยสดงดงามตั้งแต่หนุ่มสาวจนถึงผู้เฒ่าผู้แก่ แม่หม้าย แม่ฮ้าง จะแต่งตัวกันสวยงามมาก มีดอกไม้คือดอกเอื้องผึ้งเป็นช่อนำมาปักมวยผม บางคนก็แต่งตัวแบบลานนามีสไบสีสันต่าง ๆ มีลวดลายต่างสี มีฆ้องมีกลอง แห่ฉิ่ง หม้อง ๆ ฟ้อน โจ๊ะโล๊ะดอกข่า ประแป้งอย่างแมวโพง แล้วก็ไปพบกันที่ท่าน้ำช่วยกันขนทรายมาทำเป็นแบบกองเจดีย์ทรายไว้ตามวัดต่าง ๆ พร้อมกับสาดน้ำกันเป็นการสนุกสนาน (ม่วนแต้ม่วนว่า)

วันที่ 15 เมษายน จะเป็นวันพระยาวันของเมืองเหนือเราเป็นประเพณีทำบุญ คือ เอาขันข้าวไปทาน คนโบราณว่าตานกัวะข้าว มีอาหาร ข้าวต้มข้าวหนม ผลไม้ น้ำไปทานอุทิศไปหาผู้ตายไปแล้ว มีมารดา บิดา พ่ออุ้ย แม่เฒ่า ลูกหลาน จัดเป็นกัวะไปตานตอนเช้าแล้วเลยทำบุญตักบาตรและมีตุงไจย ตัดตุงแขวนกับกิ่งไม้ คนโบราณตัดเองไม่ต้องไปซื้อหา นำไปปักที่เจดีย์ทรายและหาไม้ก้ำไม้ศรี (ค้ำต้นโพธิ์) นำมาถวายเป็นตานพร้อมกันแล้วนำไปก้ำต้นไม้ศรี ไม่ใช่ว่าเอามาถึงวัดแล้ว เอาค้ำเลยต้องนำไปถวายตานก่อนแล้วค่อยเอามาค้ำตามประเพณีขนบธรรมเนียมที่ดี งามของสาธุชนทั้งหลาย เพราะการขอขมาลาโทษและให้อโหสิแก่กันไปในตัว แต่ปัจจุบันนี้มุ่งแต่สนุกสนานเป็นส่วนใหญ่ จะมีก็ในวงศ์ตระกูลของใครของมันเท่านั้น พวกเกเรอันธพาลก็เมาสุรา ลวนลามแล้วก็มีเรื่องต่อกัน ทุบตีกัน อย่างนี้เรียกว่าเกินขนบประเพณีไป

วันที่ 16 เมษายน
เข้ามาเป็นวันขึ้นปีใหม่เราเรียกว่า วันปากปี ปากวัน ติดต่อกันสามวันต่อจากนั้นก็เป็นวันธรรมดา แต่มีประเพณีของพระสงฆ์สามเณรจะต้องไปขอขมาลาโทษดำหัวพระสงฆ์ผู้อาวุโสผู้ แก่พรรษาพระผู้ใหญ่ ตามวัดต่าง ๆ นำคณะพระเณรและศรัทธาไปคารวะเป็นวัด ๆ ไป แม้วันสงกรานต์ปีใหม่จะผ่านไปหลายวันแล้วก็ตาม แต่ประเพณีควรจะยังทำกันต่อไปอยู่ตลอด บางแห่ง จนหมดเดือนเมษายนเลยก็มี

ในบางแห่งวันปากปีจะมี การทำบุญสิบชะตา สะเดาะเคาระห์กันถือว่าทำต้นปีจะได้คุ้มครองไปตลอดปีนิยมกันมากนิยมฟังธรรม สารากริวิชาสูตร คือฟังธรรมสืบชะตา บางหมู่บ้านพระไม่ว่างเลยทั้งวัน

วันเนาว์ หรือวันเน่า

“ วันเนาว์ ” เมืองเหนือเรียกว่า “ วันเน่า ” เป็นวันที่มีประเณีทางศาสนาคล้ายเช่นการขนทรายเข้าวัดและเล่นรดน้ำกันทั่ว ๆ ไป อย่างสนุกสนานเป็นวันที่หนุ่ม ๆ สาว ๆ ไปชุมนุมกันที่หาดทรายที่ใต้สะพานนวรัตน์ หรือที่แม่น้ำปิง และในตอนบ่ายวันเดียวกัน จะมีการจัดขบวนแห่พระพุทธรูปสำคัญประจำเมืองเชียงใหม่ คือ มีการ “ อัญเชิญ พระพุทธสิหิงค์และพระเสตังมณี อันเป็นพระพุทธรูปสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ ไปตามถนนสายต่าง ๆ แล้ว เข้าสู่บริเวณพุทธสถานแล้วอาราธนาพระพุทธสิหิงค์ และพระเสตังมณี เข้าสู่ที่ประดิษฐานในประลำพิธีที่จัดไว้ ณ วัดพระสิงห์วรมหาวิหารเพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้านมัสการสรงน้ำพระพุทธสิ หิงค์และพระเสตังมณีตลอดวัน และจะมีการเล่นรดน้ำกันตามถนนของหนุ่มสาวอย่างสุภาพชนกันจนกระทั่งเย็น

ในวันนี้จะถือว่าเป็นวัน สำคัญ เราจะไม่ทำอะไรที่ไม่เป็นมงคลจะไม่มีการด่าทอ โกรธกันทะเลาะวิวาทกัน โบราณถือว่าบุคคลใดถ้าด่าทอกันแล้ว ปากของบุคคลนั้นจะเน่า เพราะเป็นวันเน่า จะถือเคร่งที่สุด จะไม่ทำอะไรที่ผิดศีลห้า หากมีการทะเลาะกันในวันนี้จะถือว่าไม่เป็นมงคลตลอดปีเลยทีเดียว จะมีแต่การยิ้มแย้มแจ่มใสร่าเริงกัน ทั้งผู้ใหญ่ตลอดจนเด็ก ๆ การขนทรายเข้าวัดในวันนี้จะสนุกสนานกันมาก หนุ่มสาวชาวเหนือจะแต่งกายสวยงามกับแบบพื้นเมือง คือ ผู้หญิงนุ่งผ้าถุงใส่เสื้อคอกลมแขนกระบอก แขนสามส่วนหรือยาวถึงข้อมือ เหล้าผมมวยเหน็บช่อดอกเอื้องผึ้ง หรือ เอื้องคำ อันเป็นเครื่องแต่งกายของสุภาพสตรีชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาลแล้ว ส่วนพวกหนุ่ม ๆ ก็จะมีการแต่งกายด้วยชุดเสื้อแบบม่อฮ่อมแต่หลากสี จะมีดอกมะลิร้อยเป็นพวงสวมคอ ถือขัน หรือสลุงร่วมกันขนทรายเข้าวัดเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งการแต่งกายแบบพื้นเมืองเหนือในวันนี้เพื่อเป็นการรักษาขนบธรรมเนียมของ เมืองเหนือของเราไว้เพื่อเป็นแบบอย่างให้เยาวชนทั้งหญิงและชายของเราได้ยึด ถือเป็น “ เอกลักษณ์ ” ของเมืองเหนือเราสืบต่อไป

วันเนาว์ หรือวันเน่า นอกจากจะเป็นวันขนทรายแล้วยังเป็น “ วันดา ” หมายถึง จัดเตรียมข้าวของเครื่องใช้ที่จะต้องจัดไปทำบุญใน วันพญาวัน หรือ วันเริ่มเปลี่ยนเป็นศักราชใหม่ จะมีการจัดอาหารขนมส่วนมากจะเป็นขนมของชาวเหนือเราจะมีขนมจ๊อก ข้าวเหนียวแดง ข้าวแตน ข้าวแคบ เป็นต้น วันพญาวันนี้ตอนเช้าจะมีการ “ ทานขันข้าว ” เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ ญาติมิตร บิดามารดา ที่ได้ล่วงลับไปแล้ว

พิธีทางศาสนาของวันพญาวัน มีการทำบุญถวายแด่พระสงฆ์ แล้วมีการแสดงพระธรรมเทศนาตอนบ่าย เรียกว่า ธรรมอนิสงฆ์ ก๋องเจดีย์ทราย แล้วมีการสรงน้ำพระพุทธรูปที่เป้นองค์เล็กอยู่ในโบสถ์วิหารโดยอัญเชิญออกมา ให้คณะศรัทธาของแต่ละวัดให้นำน้ำขมิ้นส้มป่อย ไปสรงน้ำพระพุทธรูป เป็นอันเสร็จพิธีทาวศาสนาของวันพญาวัน

วันปากปี๋ หรือพิธีดำหัว สำหรับวันปากปีนี้เรียกได้ว่าเป็นวันสำคัญ เช่นเดียวกัน เพราะตามหัววัดต่าง ๆ ที่มีเจ้าอาวาสของวัดที่ยังมีอายุน้อยอยู่ ก็จะได้ร่วมกันกับคณะศรัทธาแต่ละวัดจัดเตรียมของเพื่อจะได้ไปดำหัวพระ ผู้ใหญ่ที่มีอาวุโสมาก ตามวัดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในเชียงใหม่ ของที่จัดทำเพื่อจะนำไปดำหัวพระผู้ใหญ่นั้น จะมีน้ำขมิ้นส้มป่อย ต้นดอก หมากสุ่ม จะมีเครื่องอัฐะบริขารอยู่บ้างพอสมควร ต่อจาก การดำหัวพระเถระแล้วก็จะมีการไปรดน้ำดำหัวผู้เฒ่าผู้แก่ ปู่ย่า ตายาย บิดามารดา เป็นต้น ก็จะมีเตรียมข้าวของที่นำไปสักการะท่านผู้ใหญ่นั้นก็คล้าย ๆ กันกับที่จัดไปดำหัวพระผู้ใหญ่ตามวัดต่าง ๆ นั้นเอง


กรรมวิธีการขนทรายเข้าวัดเพื่อก่อเจดีย์ทราย

จะมีอุบาสกผู้มีอายุ หรือ ปู่จ๋านของวัด หรือพระภิกษุสามเณรภายในวัดช่วยกันทำโครงร่างเจดีย์โดยจะจัดหาไม้ไผ่มาสาน เป็นขั้นวงกลม ลักษณะเป็นพระเจดีย์ 3 ชั้นบ้าง 5 ชั้นบ้าง 7 ชั้นบ้าง จะทำกันในวันเน่าหรือวันดา


การบรรจุทรายลงบนเจดีย์
ทางวัดจะนำเอาฐานแรกมา วางไว้ก่อนให้คณะศรัทธาขนทรายมาใส่ให้เต็มฐานแรกโน้น ละก็จะนำฐานที่ 2 มาตั้งให้เททรายลงไปอีก เมื่อฐานที่ 2 เต็ม ก็จะนำฐานที่ 3-4-5 มาตั้งขึ้นไปตามลำดับ ก็จะได้เจดีย์องค์หนึ่ง วันพญาวันตอนเช้าที่ศรัทธาประชาชนทั้งหลายได้ตานขันข้าวแล้ว ก็จะนำช่อตุง หลากสีหลายแบบมาปักไว้บนเจดีย์ทรายในตอนบ่ายของวันพญาวัน ก็จะมีปู่อาจารย์ของวัดต่าง ๆ จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยใส่สลุงตั้งไว้หน้าพระประธานในวิหารพร้อมดอกไม้ธูปเทียน เมื่อถึงเวลาพระสงฆ์เจ้าอาวาสก็เป็นประธานขึ้นบนวิหาร ปู่อาจารย์ก็จะนำศรัทธาไหว้พระรับศีลแล้วอารธนาพระปริตรรพระสงฆ์เจริญพระ พุทธมนต์ แบบล้านนา คือ สูตรแบบย่อพอสมควรแก่เวลา บางวัดก็จะเทศนาธรรมอนิสงฆ์ปี๋ใหม่เมืองหนึ่งผูกจากนั้นปู่อาจารย์จะทำพิธี โอกาสเวนทานเจดีย์ทราย ก็เป็นเสร็จพิธีของวันพญาวัน หรือ วันเถลิงศกของปี๋ใหม่เมือง


ที่มา:
เว็บไซต์ล้านนาคดี http://lanna.mju.ac.th/ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ "

วันจันทร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2554

เชิญร่วมถวายพระประธานสิงห์หนึ่งหน้าตัก 3.50 เมตร






เชิญร่วมถวายพระประธานสิงห์หนึ่งหน้าตัก 3.50 เมตร

“พระพุทธรุ่งเรืองเฟื่องฟู”
ณ สำนักสงฆ์ถ้ำปุ่ม บ้านสันทรายปูยี่
อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
...................................
กำหนดการ

วันที่ 9 เมษายน 2554
- 19.00 น. พิธีสวดมนต์เจริญพุทธมนต์อบรมสมโพธน์
- 20.00 น. เทศธรรมพุทธาภิเษก

- 21.00 น. พิธีสวดเบิก

วันที่ 10 เมษายน 2554

- 03.00 น. พิธีกวนข้าวทิพย์
- 04.30 น. พิธีไหว้พระสวดมนต์

- 05.00 น. พิธีสวดเบิกเนตรพระประธาน

- 05.30 น. พิธีถวายข้าวทิพย์พระประธาน
- 06.00 น. ถวายไทยธรรมแด่พระสงฆ์

- 06.30 น. ถวายภัตตาหารเช้า(ข้าวยาคู)

- 07.00 – 09.00 น. พิธีถวายเครื่องสักการะบวงสรวง และการ แสดงชุดต่างๆ

- 09.00 – 10.00 น.พิธี สืบชะตาหลวง

- 10.00 – 10.30 น. พิธีถวายผ้าป่า และถวายพระประธาน

- 11.00 – 12.00น ถวายภัตตาหารเพลพระสงฆ์


หมายเหตุ - การแต่งกายชุดขาว

ความคืบหน้าการสร้างพระ